วิชาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิน
วัน-เดือน-ปี 24-08-2558
เรียนครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30.- 12.30 น.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต
กิจกรรมพับจรวดจากกระดาษ
ร้องเพลง Incy Wincy spider และ I love you You love me
การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
Jellen and Urban
กิจกรรมเส้นกับจุด
กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต
- อาจารย์ให้พับกระดาษเป็นรูปจรวด แล้วให้ไปปาลงกล่อง บางคนก็ปาลงกล่อง บางคนก็ปาไม่ลงกล่อง อาจารย์บอกว่าเด็กอนุบาลทุกคนปาลงกล่องหมด เพราะจรวดของเด็กๆ คือกระดาษที่ขย้ำๆเป็นก้อนกลมๆ
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
Jellen and Urban
- ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
- ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
- กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆ อย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องมีอิสรภาพทางความคิด
คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
- คุณค่าต่อสังคม
- คุณค่าต่อตนเอง
- ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
- ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
- มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง
- นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
- ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
- ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
- สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี
- พัฒนากล้ามเนื้อ
- เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
ด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Association Fluency)
ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
ด้านการคิด (Ideation Fluency)
2. ความคิดริเริ่ม (Originality)
ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดา
หรือแตกต่างจากบุคคลอื่น
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)
ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง (Adapture Flexibility)
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
ความคิดที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง
เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
- Torrance ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
- ระยะแรกเกิด – 2 ขวบ
- ระยะ 2 -4 ขวบ
- ระยะ 4-6 ขวบ
ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
- Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น
- ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
- ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
- ขั้นที่ 3 ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
- ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3
- ขั้นที่ 5 คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ
ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
- ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
- อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
- ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
- ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
- ช่วยให้ปรับตัวได้ดี
- ให้นักศึกษาจับคู่โดย คนเเรก ลากเส้นไปเรื่อย ห้ามยกดินสอขึ้น ส่วนคนที่สองให้วาดจุดกลมๆตามภาพ หลังจากนั้นให้มองดูภาพว่าเห็นเป็นรูปอะไรเเล้ววาดลงไป
- จากนั้นนำผลงานไปติด แลพนำเสนอหน้าชั้นเรียน
Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
- ได้เข้าใจความหมายของความคิดสร้างสรรค์ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
Skill (ทักษะที่ได้รับ)
- ความจำ
- ความเข้าใจ
- ความคิดสร้างสรรค์
- ความกล้าแสดงออก
- การลงมือปฎิบัติ
Adoption( การนำไปใช้)
- การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็ก ไม่ต้องไปตีกรอบให้เด็กทำอะไร ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงาน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
- สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
- ตั้งใจเรียน แต่ไม่ถนัดวาดเขียนงานศิลปะ
Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมมือกันทำกิจกรรม