วิชาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิน
วัน-เดือน-ปี 5-10-2558
เรียนครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30.- 12.30 น.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
- กิจกรรมนักมายากลระดับโลก
- หลังเวทีกำลังขึ้นแสดงโชว์มีความรู้สึกอย่างไร
- ออกไปโชวแล้วแต่ขณะเล่นกับผู้ชมเรียน และผู้ชมขึ้นมาเล่นด้วยจะเลือกใคร
- โดยเพื่อนจับผิดได้จะกระซิบว่าอะไร
- หลังจากแสดงเสร็จไปแล้วรู้สึกอย่างไร
2. การเล่นเพื่อสิ่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น คือ กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลินเพลิน ผ่อนคลาย ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget
กล่าวถึงพัฒนกาารเล่นของเด็กมี 3 ขั้นดังนี้
- ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play) เช่น การหยิบจับ สำรวจ ซึ่งจะยตุลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
- ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play) อายุ 1ปีครึ่ง-2ปี การเล่นไม่มีขอบเขต เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เล่นคนเดียวต่างคนต่างเล่น
- ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) อายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุดคือการเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสร้างสรรค์
- การเล่นกลางแจ้ง
- การเล่นในร่ม
- การเล่นตามมุมประสบการณ์
- การเล่นสรรค์สร้าง
การเล่นสรรค์สร้าง คือ การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม ทำให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
- สภาวะการเรียนรู้
- พัฒนาการของการรู้คิด
- กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
- เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงเวลา
- การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
- ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
- ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
- มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
- มีการสรุปท้ายกิจกรรม
รูปแบบการสอนแบบ STEM
S = Science
T = Tecnology
E = Engineering
M = Mathematics
3. กิจกรรมนักออกแบบอาคาร โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน
Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
- กิจกรรมการเล่นที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กต้องมีการจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียน และกิจกรรมนั้นต้องให้เด็กลงมือปฎิบัติ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
Skill (ทักษะที่ได้รับ)
- ความคิดสร้างสรรค์
- การวางแผน
- ความสามัคคี
Adoption( การนำไปใช้)
- นำกิจกรรมที่อาจารย์สอน ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆในอนาคต
Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
- สนุกสนาน
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
- วันนี้ไม่ได้มาเรียน แต่ได้สอบถามตามงานจากเพื่อนๆ
Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
- เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น